งานบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม


| ภารกิจหน่วยงาน | ขั้นตอนการปฏิบัติงาน | ผลงานหน่วยงาน | ระเบียบและแบบฟอร์ม |

ภารกิจหน่วยงาน

งานบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์ มีภาระกิจด้านการบริการวิชาการ ด้านการศึกษาและการให้บริการตรวจวิเคราะห์เพื่อการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการนำมาใช้เพื่อให้เกิดการปฏิบัติ และการให้บริการสู่ภายนอกทั้งคณะวิทยาศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนำความรู้จากการปฏิบัติ มาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ และรายวิชาบริการต่อไป

:: งานบริการวิชาการ ::

การให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ถือเป็นภาระกิจหลัก แรกๆ ที่ดำเนินงานมาเป็นระยะเวลายาวนาน นับตั้งแต่เริ่มดำเนินงานด้านการบริหารคณะวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ.2543 ซึ่งมีทั้งจัดสรรงบประมาณจากคณะ หรือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก อาทิ 

  • โครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นโครงการที่คณะวิทยาศาสตร์จัดในเดือนสิงหาคม เป็นประจำทุกปี โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ เข้าร่วมชมนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงการประกวด แข่งขันต่างๆ เช่น การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ต้น เพื่อคัดเลือกตัวแทนประกวดระดับประเทศ การแข่งขันตอบคำถาม การแข่งขันทักษะทางวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมสนุกสนาน จากนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มากมาย
  • โครงการพฤหัสฯ บ่าย ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนในโรงเรียนละแวกมหาวิทยาลัย หรือจังหวัดใกล้เคียง ที่สามารถเดินทางมารับบริการ ณ คณะวิทยาศาสตร์ ได้ภายในวันพฤหัสบดี ได้มาลองใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทดลองทางวิทยาศาสตร์ จากคณาจารย์ของคณะฯ ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
  • โครงการวิทยาศาสตร์สัญจร ที่คณาจารย์ แต่ละสาขาวิชา นักศึกษาคณะวิทยาศาตร์ จะได้มีโอกาส นำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ไปยังโรงเรียนที่อาจจะขาดโอกาสด้านการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ ณ โรงเรียนของตนเอง รูปแบบกิจกรรมจะมีทั้งวิชาการ และให้ความสนุกสนาน กับนักเรียน เป็นการเปิดประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ให้กับนักเรียน ณ โรงเรียนของตน ซึ่งรูปแบบมีทั้งแบบไปวันเดียวกลับ หรือมีการจัดค่าย 2 วัน 1 คืน เป็นต้น
  • โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (Science in School : SiS) ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโรงเรียน ในการนี้ หัวโครงการ ณ เวลานั้น ผศ.วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ ได้ริเริ่มรูปแบบการพัฒนาวิถีการสนับสนุนนักเรียนตั้งแต่เข้ามาเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา มาสัมพันธ์กับระบบการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามความสนใจ และการสร้างอาชีพเมื่อจบการศึกษา ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเริ่มจากโครงงานที่พัฒนาจากโจทย์ในท้องถิ่นของนักเรียนเอง ซึ่งก็เป็นโจทย์ที่มีการต่อยอดการพัมนารูปแบบการจัดบริการวิชาการในโครงการต่างๆ ในปัจจุบัน
  • โครงการโรงเรียนแกนนำ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการพัฒนาครู เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ฯ ในโรงเรียน ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายโรงเรียน เริ่มต้น 3 โรงเรียนเป็นโรงเรียนต้นแบบ และมีการพัฒนาครู และการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เพื่อให้โรงเรียนดังกล่าวสามารถกระจายสู่โรงเรียนในเครือข่ายของตนเองต่อไป ซึ่งพัฒนาโรงเรียนเครือข่าย ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน รวม 18 โรงเรียน

:: งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ::

คณะวิทยาศาสตร์ ดำรงอยู่ภายใต้วัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย โดยเฉพาะคณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ในถิ่นแดนอุบลราชธานี เมืองดอกบัวงาม วัฒนธรรมอิสานใต้ อันงดงาม ทั้งรูปแบบการดำรงชีวิต วิถีชีวิต แบบอิสานดั้งเดิม และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งอุบลราชธานี มีช่องผ่านแดนช่องเม็กกับ สสป.ลาว ทำให้มีความสัมพันธ์หลายๆ ด้าน คณะวิทยาศาสตร์ มีภาระกิจหลักที่ได้รับการจัดสรรบทบาทหน้าที่ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน กฐิน ของทุกปี ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดทำกฐินสามัคคี ร่วมกับคณะฯ เจ้าภาพต่างๆ ในหลายๆ วัด ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ทางพุทธศาสนา ซึ่งไม่เพียงแต่บุคลากร แต่ยังได้นำนักศึกษา ได้เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานงานประเพณี นี้ให้สืบไป

1) ด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.1) โครงการโอลิมปิกวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้รับเกียรติจากมูลนิธิ สอวน. เป็น ศูนย์โอลิมปิกวิชาการ สอวน. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในการปฏิบัติภาระกิจจัดค่ายอบรม และคัดเลือกนักเรียนผู้มีความรู้ในระดับสูง ในการเป็นตัวแทนของภูมิภาค และประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขัน โอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ และนานาชาติ
1.2) โครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (Young Scientist Compettion: YSC) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และได้ดำเนินงานมาถึงปัจจุบัน ในการเป็นศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 จังหวัด เพื่อคัดเลือกโครงงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวแทนระดับภูมิภาคไปประกวดระดับประเทศ และนานาชาติในงาน Intel ISEF ณ สหรัฐอเมริกา
1.3) โครงการห้องเรียนพิเศษ เป็นโครงการลักษณะให้บริการวิชาการกับโรงเรียนที่มีความสนใจในการพัฒนาทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอรับการบริการ ซึ่งช่วงเวลาการให้บริการเป็นวันหยุด หรือช่วงเปิดเทอมของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนปกติของมหาวิทยาลัย  

 2) ด้านหน่วยบริการตรวจวิเคราะห์ 

คณะวิทยาศาสตร์ มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ หลายชนิด และเพื่อให้มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และองค์ความรู้ในสาขาวิชาของบุคลากร ในการที่จะตรวจวิเคราะห์ด้านต่างๆ ได้ จึงมีหน่วยบริการวิชาการ ได้แก่
2.1) หน่วยบริการวิเคราะห์โครโมโซม
2.2) หน่วยบริการกล้องจุลทรรศน์
2.3) หน่วยบริการจุลชีววิทยา
2.4) หน่วยตรวจวัดและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการทำงาน
2.5) หน่วยบริการวิเคราะห์และทดสอบน้ำและผลิตภัณฑ์ชุมชน
2.6) หน่วยบริการวิเคราะห์ด้วย NMR
2.7) หน่วยบริการวิเคราะห์ทางความร้อน
2.8) หน่วยเครื่องมือปฏิบัติการทางเคมี
2.9) หน่วยบริการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคด้วย XRD
2.10) หน่วยพัฒนาและซ่อมบำรุงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
2.11) หน่วยบริการเทคโนโลยีดิจิทัล
2.12) หน่วยรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
2.13) หน่วยวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ศึกษา



เอกสารที่เกี่ยวข้อง
   1.แบบเสนอขอจัดตั้งหน่วย
ผศ.ดร.สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
เบอร์ภายใน :
นางสาวลลิตภัทรา พงษ์มาลี
นักวิชาการศึกษา
เบอร์ภายใน : 4470
นางสุกัญญา พิมพ์บุญมา
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานบริหาร
เบอร์ภายใน : 4422

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เสนอแนะแนวทางปรับปรุงเว็บไซต์ได้ที่ nattapong.s@ubu.ac.th
Login เข้าระบบ

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy Policy) | ข้อตกลงด้านสิทธิ์การใช้งาน