ขอแสดงความยินดีกับ ทีม Smart Para Film ม.อุบลฯ ชนะเลิศ ผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” |
ขอแสดงความยินดีกับ ทีม Smart Para Film ผลงานวิจัยร่วมระหว่างอาจารย์สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และอาจารย์สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 (ระดับประเทศ) ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา ผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร โครงการประกวดงาน Rubber Innovation Matching Day นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ต้นแบบและการจับคู่ธุรกิจ จัดโดย การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้โครงการ Natural Rubber Startup Acceleration Program: Batch 3 เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด เพื่อเปิดโอกาสให้แก่นิสิต นักศึกษา เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการยางพาราได้มีเวทีในการส่งผลงานคุณภาพเข้าร่วมการประกวดในอนาคตต่อไป เมื่อวันพุธที่ 27 กันยายน 2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำหรับทีม Smart Para Film ที่สร้างชื่อเสียงและผลงานเป็นที่ประจักษ์ สร้างความภาคภูมิใจให้แก่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีครั้งนี้ จากผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” ซึ่งพัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี นุ้ยหนู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ แสงสุวรรณ อาจารย์ประจำสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรเวทย์ อุทโธ อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยทีมอาจารย์ที่เข้าร่วมการแข่งขันแบ่งผลงานเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ผลงานระดับ Product to Global Market (P2GM) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพาราที่อยู่ในตลาดเพื่อเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ ผลงานระดับ Product to Market (P2M) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพาราเข้าสู่ตลาด ผลงานระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา และผลงานระดับ Design Contest (I2D) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุสานยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม ในการประกวดครั้งนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ระดับ Idea to Prototype (I2P) การมีไอเดีย/แนวคิดธุรกิจเพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบยางพารา 3 ผลงาน ได้แก่ 1. ทีม Smart Para Film ผลิตภัณฑ์ “ฟิล์มยางพาราดูดซับเอทิลีนชะลอการสุกของกล้วยหอมทอง” พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี นุ้ยหนู ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ ประเสริฐศรี รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ แสงสุวรรณ สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.วีรเวทย์ อุทโธ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี -------------------------------------- ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : |
เอกสารที่เกี่ยวข้อง : |
โพสต์โดย สมปอง เวฬุวนาธร : ประกาศเมื่อ 09 ต.ค. 2023 จำนวนผู้อ่าน : 1407 ครั้ง |
อ่านข่าวทั้งหมด |