แนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ช่วง เดือนมกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แนวปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ช่วง เดือนมกราคม 2565 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


          ตามประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 เรื่อง มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 ระลอกใหม่ (ฉบับที่ 12) : มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 หลังเทศกาลปีใหม่ 2565 และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้มีการแพร่ระบาดในวงกว้าง เพื่อเป็นการยกระดับมาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักศึกษาและบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์จึงออกแนวปฏิบัติ กำหนดมาตรการการป้องกันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ในระหว่างวันที่ 5-17 มกราคม 2565 ดังต่อไปนี้


แนวปฏิบัติสำหรับนักศึกษา


ข้อ 1 ให้นักศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเข้าใช้ห้องปฏิบัติการ ขออนุญาตเข้าที่ตั้ง โดยกรอกคำร้องผ่าน Google Form ตาม QR Code แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ พร้อมแนบผลประเมินความเสี่ยงผ่านแอปพลิเคชัน HugUBU และผลการตรวจด้วยชุดตรวจชนิด ATK หรือ RT-PCR ประกอบการพิจารณาขออนุญาต เสนอต่อคณบดี


แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน


ข้อ 2 ให้บุคลากรปฏิบัติงานแบบผสมผสานระหว่าง ณ ที่ ตั้งตามปกติและนอกที่ตั้ง (Work From Home) โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการทำงานเป็นสำคัญ


     ข้อ 2.1 กรณีที่บุคลากรเข้ามาปฏิบัติงานในที่ตั้ง กรอกรายละเอียดและแนบหลักฐาน Google Form ตามQR Code แนบท้ายแนวปฏิบัตินี้ พร้อมแนบผลประเมินความเสี่ยงผ่านแอปพลิเคชัน HugUBU และผลการตรวจด้วยชุดตรวจชนิด ATK หรือ RT-PCR


     ข้อ 2.2 กรณีที่บุคลากรปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work โrom I Iome) ในระหว่างวันที่ 5-17 มกราคม 2565 ให้ปฏิบัติดังนี้


          ข้อ 2.2.1 ให้บุคลากรสายวิชาการสามารถทำงานนอกที่ตั้งในรูปแบบปฏิบัติงานที่บ้าน (Work FromHome) โดยจัดทำแผนงานเสนอหัวหน้าภาควิชา (แบบฟอร์ม ว-11) ตามลิงค์หน้าเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์ และกำหนดส่งเอกสารภายในวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565


          ข้อ 2.2.2 ให้บุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติงานแบบผสมผสานระหว่าง ณ ที่ตั้งและนอกที่ตั้ง (Work From Home) โดยมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาขั้นต้น/หัวหน้าภาควิชา เป็นผู้พิจารณาอนุมัติการปฏิบัติงานหรือการสลับวันเวลาปฏิบัติงานที่ชัดเจน รวมทั้งการปฏิบัติงานแทนกันสำหรับผู้ปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการทำงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้บุคลากรที่ทำงานนอกที่ตั้งต้องจัดทำแผนงานเสนอผู้บังคับบัญชาขั้นต้น/หัวหน้าภาควิชา (แบบฟอร์ม วท -11) ตามลิงค์หน้าเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์และกำหนดส่งเอกสารภายในวันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2565


ข้อ 3 บุคลากรที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง Work From Home ให้บันทึกการลงเวลาปฏิบัติราชการในระบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัย และรายงานการปฏิบัติงานรายวันในระบบ e-manage ตามแบบฟอร์มบันทึกติดตามประเมินผลงานรายวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์


ข้อ 4 บุคลากรที่ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work From Home) ต้องไม่เดินทางออกนอกพื้นที่ตั้งของที่พักหรือบ้านพักในช่วงเวลาทำปฏิบัติงน เว้นแได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา หากฝ่าฝืนจะถือว่าเป็นการขาดราชการ


ข้อ 5 กรณีที่ปฏิบัติงานในที่ตั้งจะต้องปฏิบัติตนตามมาตรการ D-M- 1-T-T และปฏิบัติงานภายใต้มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID free Setting) โดยเคร่งครัดสูงสุด


ข้อ 6 ในการปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง (Work From Home) หากก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิดความเสียหายแก่ผู้รับบริการและ/หรือส่วนงานในคณะวิทยาศาสตร์ ถือเป็นความผิดส่วนบุคคล และคณะฯ อาจจะพิจารณาดำเนินการทางวินัยหรือด้านอื่นๆ ตามระเบียบ ข้อบังคับและ/หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


          จึงขอแจ้งแนวปฏิบัตินี้ เพื่อทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง


(ศาสตราจารย์ศิริพร จึงสุทธิวงษ์)
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์
วันที่ 4 มกราคม 2565


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :

เอกสารที่เกี่ยวข้อง :
   
  แนวปฏิบัติ COVID 5_17มค65  
โพสต์โดย สมปอง เวฬุวนาธร : ประกาศเมื่อ 07 ม.ค. 2022   จำนวนผู้อ่าน : 28780 ครั้ง

อ่านข่าวทั้งหมด
นักศึกษา | ศิษย์เก่า | ข่าวรับสมัครงาน | ระบบสารสนเทศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เสนอแนะแนวทางปรับปรุงเว็บไซต์ได้ที่ nattapong.s@ubu.ac.th
Login เข้าระบบ

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy Policy) | ข้อตกลงด้านสิทธิ์การใช้งาน