บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ กรมทรัพยากรธรณี

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาวิจัยทางธรณีวิทยา และธรรมชาติวิทยา ด้านซากดึกดำบรรพ์ อารยธรรมโบราณจากอดีตถึงปัจจุบัน ตลอดจนกิจกรรมด้านการสร้างแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2. เพื่อการสำรวจและขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ และการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ความรู้และสร้างสำนึกสาธารณะให้แก่ชุมชน และประชาชนทั่วไป
3. เพื่อจัดการประชุมวิชาการด้านซากดึกดำบรรพ์และธรณีวิทยาทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่และสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม

องค์กรที่ลงนาม

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กรมทรัพยากรธรณี

ระยะเวลา

กิจกรรมที่ดำเนินการ


# ระยะเวลา กิจกรรมที่ดำเนินการ สถานะ
14 สิงหาคม 2562 ถึง วันที่ 14 สิงหาคม 2566 กำลังดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ ได้จัดการประชุมร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น) เพื่อหารือแนวทางการพัฒนางานวิจัยในพื้นที่อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ประดิษฐ์ นูเล นักธรณีวิทยาชํานาญการพิเศษ พร้อมคณะ เป็นผู้แทนสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 เข้าร่วมประชุมกับนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปุริม จารุจำรัส ให้การต้อนรับและเป็นประธานในการประชุม นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์สมหมาย ชินนาค ผู้เชี่ยวชาญด้านลุ่มน้ำโขงศึกษา และอาจารย์สุรีรัตน์ บุปผา นักวิชาการด้านโบราณคดี ผู้แทนจากคณะศิลปศาสตร์ เข้าร่วมหารือในการพัฒนาหัวข้องานวิจัยในพื้นที่อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก ซึ่งสรุปประเด็นสำหรับการศึกษาได้ดังนี้ 1. การพัฒนาอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และฝึกอบรมทางธรณีวิทยา ดาราศาสตร์และธรรมชาติวิทยา 2. การศึกษาสิ่งมีชีวิตในถ้ำหินทราย ในบริเวณอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก 3. การศึกษาเชิงโบราณคดีและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ธรณีวิทยาผาชัน สามพันโบก 4. การพัฒนาสินค้าท้องถิ่น เพื่อการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เสร็จเรียบร้อย
1 - 31 สิงหาคม 2564 คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการประสานของความอนุเคราะห์กรมทรัพยากรธรณีเพื่อขนหินและจัดวางตามชนิดตัวอย่างหิน 4 ชนิดหิน จำนวนทั้งหมด 14 ก้อน รายชื่อหินดังเอกสารแนบ ณ แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาและดาราศาสตร์ ลานกิจกรรมอุทยานศิลปวัฒนธรรมอีสานและลุ่มน้ำโขง เป็นที่เรียบร้อยแล้วในเบื้องต้นเนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณในการดำเนินการ สำหรับแผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคตจะดำเนินการในสองส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่การดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ ซึ่งสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมได้ทันทีหากสถานการณ์ปกติ เนื่องจากพื้นที่ลานกว้างเหมาะสำหรับการจัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์เพื่อสังเกตวัตถุท้องฟ้าได้เป็นอย่างดี โดยจำเป็นต้องขอความอนุเคราะห์ทางส่วนกลางดำเนินการริบยอดต้นไม้ฝั่งทางทิศเหนือของลานกิจกรรมไม่ให้สูงเกินไป จนบดบังแนวเส้นขอบฟ้าและจุดสังเกตดาวเหนือ สำหรับการดำเนินการในส่วนแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา ที่สามารถดำเนินการเบื้องต้นได้นั้น จะเป็นการเรียนรู้สมบัติทางกายภาพของหินชนิดต่าง ๆ เท่านั้น ยังขาดในส่วนการปรับภูมิทัศน์ ให้สวยงามขึ้น โดยขอเสนอให้จัดสรรงบประมาณในการจัดทำป้ายรายละเอียดหินแต่ละชนิดให้ชัดเจน และเพิ่มมีการส่วนร่วมจากทางภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ เพื่อจัดแสดงพันธุ์พืชบริเวณโดยรอบกลุ่มหิน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพฤกษศาสตร์อีกทางหนึ่ง เสร็จเรียบร้อย

ภาพกิจกรรม