คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ ร่วมรายการ อีสานวาไรตี้ ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จ.อุบลฯ ประชาสัมพันธ์ Formic Acid แบบอัตโนมัติ ปลอดภัยสุขภาพและอนามัยเกษตรสวนยาง

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ขอขอบคุณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานี และทีมงานฝ่ายรายการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดอุบลราชธานีทุกท่าน ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์เวลาออกอากาศในรายการ อีสานวาไรตี้ โดยมี ดร.ศันศนีย์  ศรีจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ นายกรวิช  แก้วดี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ร่วมรายการและ นางสาวธวัลรัตน์  ศรีจันทร์กาศ ผู้ดำเนินรายการ  เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ “คณะวิทยาศาสตร์ ม.อุบลฯ ผลิตเครื่องผสม Formic Acid แบบอัตโนมัติ ปลอดภัยต่อสุขภาพและอนามัยเกษตรกรสวนยาง” เพื่อวิสาหกิจสวนยางขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งได้ส่งมอบให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไว้ใช้ประโยชน์ และปัจจุบันยังคงใช้ประโยชน์ โดยมีการปรับปรุงเครื่องและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากแบบขวดมาเป็นแบบแกลลอน เพื่อความสะดวกในการใช้งานของกลุ่มเกษตรกร และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางหันมาใช้กรดฟอร์มิกแทนการใช้กรดซัลฟูริก หรือกรดชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อคุณภาพของการทำยางก้อนถ้วย ที่เดิมไม่สะดวกและราคาสูงเกิดความยุ่งยากในการเตรียมน้ำกรดใช้เอง และทำให้เกิดอาการแพ้กรดฟอร์มิก ซึ่งจะมีความระคายเคืองตามบริเวณผิวหนัง


          ดร.ศันศนีย์  ศรีจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว “เครื่องผสม Formic Acid แบบอัตโนมัติ” สามารถผสมกรดจากความเข้มข้น 94% ให้เป็นกรดที่พร้อมใช้งานที่มีความเข้มข้น 5% และสามารถผสมกรดได้รวดเร็ว 30 นาที/ครั้ง ครั้งละ 97 ลิตร ซึ่งปริมาณ ลิตร จะสามารถใช้กับสวนยางพาราได้ประมาณ ไร่ ดังนั้น ถ้าปริมาณ 97 ลิตร ก็จะได้ใช้กับสวนยางพาราได้ประมาณ 290 390 ไร่ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกสบายและที่สำคัญราคาถูกลดต้นทุนการผลิต และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในอนาคต นอกจากนี้ทีมวิจัยจาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงมีแนวคิดในการสร้างความตระหนักเรื่องการใช้กรดที่ถูกต้อง โดยมีการจัดอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้น้ำกรดที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้ยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพดี เนื่องจากใช้กรดที่เป็นน้ำกรดมาตรฐานเดียวกัน และสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนใจมาใช้กรดฟอร์มิกในอนาคตต่อไป


          นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันทางคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผลิตและส่งมอบ “เครื่องผสม Formic Acid แบบอัตโนมัติ” จำนวน 5 เครื่อง ให้แก่ สหกรณ์ชาวสวนยางพาราภูผาหมอก จำกัด ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารออมสิน โครงการ Startup University Modelสหกรณ์ชาวสวนยางตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สนับสนุนงบประมาณโดย อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โครงการมหกรรมของดีอีสาน 4.0 กับอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สหกรณ์ชาวสวนยางอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนงบประมาณโดย  การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สาขาจังหวัดขอนแก่น, สหกรณ์ชาวสวนยางอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น สนับสนุนงบประมาณโดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สาขาจังหวัดขอนแก่น และคุณศิริกุล  กองทอง เจ้าของลานรับซื้อมันแสงสวรรค์ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 


          และสำหรับผู้ที่มีความสนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่... นายอนุพงษ์  รัฐิรมย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้วิจัยและควบคุมการผลิต โทรศัพท์ 08-9721-6003


--------------------------------------


ทิพย์วรรณ  เวฬุวนาธร นักประชาสัมพันธ์ ชำนาญการ ม.อุบลฯ ภาพ/ข่าว


ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
    http://www.ubu.ac.th/new2018/news_read.php?id=17700
    https://www.facebook.com/nok.tippawan.9/videos/2216734485095673/UzpfSTQwNTQ4NjAyOTUxOTc5MjoyNzUxODEwNzI4MjIwNjMy/

เอกสารที่เกี่ยวข้อง :
โพสต์โดย ผู้ดูแลระบบ : ประกาศเมื่อ 18 ก.พ. 2020   จำนวนผู้อ่าน : 3591 ครั้ง

อ่านข่าวทั้งหมด
นักศึกษา | ศิษย์เก่า | ข่าวรับสมัครงาน | ระบบสารสนเทศ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
เสนอแนะแนวทางปรับปรุงเว็บไซต์ได้ที่ nattapong.s@ubu.ac.th
Login เข้าระบบ

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy Policy) | ข้อตกลงด้านสิทธิ์การใช้งาน